วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ศาสนาพุทธ


ศาสนาพุทธ หรือ พระพุทธศาสนา หรือ พุทธศาสนา โดยความหมายแล้ว หมายถึงศาสนาแห่งความรู้แจ้ง เป็นศาสนาที่มีพระรัตนตรัย เป็นสรณะอันสูงสุด อันได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ โดยพระรัตนตรัยทั้ง 3 นี้ย่อมมีคุณเกี่ยวพันเป็นอันเดียวกัน จะแยกออกจากกันโดยเฉพาะไม่ได้ ด้วยพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมก่อนแล้วสอนให้พระสงฆ์รู้ธรรม พระธรรมนั้น พระสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมจำทรงไว้ ปฏิบัติและสั่งสอนสืบต่อพระศาสนา พระรัตนตรัยนี้ เปรียบด้วยวัตถุวิเศษที่มีราคาอย่างสูง คือ แก้ว จึงเรียกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า รัตนะ คำว่า "รัตนะ" แปลว่าแก้ว,สิ่งมีค่าสูงยิ่ง,สิ่งประเสริฐ ซึ่งคำว่ารัตนะในที่นี้จะหมายถึง พระรัตนตรัย ซึ่งก็คือแก้ว 3 ดวง ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็คือนับถือแก้ว 3 ดวงนี้ว่ามีคุณ ย่อมจะเป็นที่พึ่งที่ระลึกแก่ตน

หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาได้ถูกบันทึกรวบรวมไว้ในคัมภีร์ชื่อ พระไตรปิฏก อันประกอบด้วย "พระธรรม" คือความรู้ในสัจธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วนำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย" คือข้อบังคับต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่บวชเป็นสาวกในศาสนานี้ผู้ถูกเรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และ พระภิกษุณีสงฆ์ (หญิง)

พระพุทธเจ้าได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนดังกล่าวในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก, ตลอดจนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันรวมถึงประเทศไทยด้วย

นอกเหนือจากพระรัตนตรัยแล้ว ผู้นับถือโดยทั่วไปที่ไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก หรือ อุบาสก (ชาย) /อุบาสิกา (หญิง) ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา รวมกันเรียกว่า พุทธบริษัท 4
สารบัญ
[ซ่อนสารบัญ]

* 1 หลักการสำคัญของพุทธศาสนา
* 2 ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
o 2.1 ศาสนาแห่งความรู้และความจริง
o 2.2 ศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ
o 2.3 ศาสนาอเทวนิยม
o 2.4 ศาสนาแห่งสันติภาพ
* 3 ประวัติศาสนา
* 4 นิกาย
* 5 สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

[แก้ไข] หลักการสำคัญของพุทธศาสนา

* พุทธศาสนา สอน "สัจธรรม" คือความจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งปวง
* หัวใจของพุทธศาสนาคือ "หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
* พุทธศาสนา กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นตาม เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป
* อริยสัจ4 สอนให้เข้าใจถึงหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ (มีความยากลำบาก หรือ มองตัวปัญหา) สมุทัย (ความทุกข์นั้นมีสาเหตุให้เกิด หรือ มองสาเหตุของปัญหา) นิโรธ (ความหมดสิ้นแห่งทุกข์ หรือ มองจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา) มรรค (วิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ หรือ ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ)
* พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน)
* ไตรลักษณ์ คือหลักการที่ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกมี 3 ลักษณะดังนี้คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป) ทุกขัง (ถูกบีบคั้นให้เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา) อนัตตา (ไม่มีแก่นสารอะไรให้ถือเอาเป็นตัวตนของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)
* สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิ คือมิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุด ที่รองรับการเกิดของสิ่งมีชีวิต การเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงยึดเอาว่าสิ่งต่างๆ มีตัวตน ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว คือการดำเนินตามเส้นทางอริยมรรค
* กฎแห่งกรรม กรรม คือการกระทำทุกอย่างที่มีเจตนาสั่งการโดยจิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำที่ดี (บุญ/กุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลางๆ ย่อมจะไม่สูญหายไปไหน แต่รอเวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ โดยไม่สามารถนำบุญกับบาปมาหักล้างกันได้โดยตรง กฎแห่งกรรมนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดความเป็นไปของแต่ละจิตวิญญาณในสังสารวัฏ
* นิพพาน คือสภาพที่พ้นออกไปเหนือโลก ออกไปจากสังสารวัฏ เป็นความสุขอันเที่ยงแท้ เป็นเป้าหมายอันสูงสุดที่พระพุทธศาสนาสอนให้บรรลุถึง
* เมื่อรวมหลักการปฏิบัติตามทางของพุทธศาสนาทั้งหมดให้เข้าใจได้ง่าย ก็มีอยู่ 3 คือ

1. ละเว้นความชั่ว
2. ทำความดี
3. ฝึกใจให้บริสุทธิ์

อีกนัยหนึ่งเมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนคือ

1. ศีล (ฝึกตนให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น)
2. สมาธิ (ฝึกความตั้งมั่นของจิต)
3. ปัญญา (ใช้จิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริง จนกระทั่งทำลายอวิชชาได้ในที่สุด)

[แก้ไข] ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนานับเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุง และแก้ไขสังคมอินเดียในยุคนั้นให้ดีขึ้นจากสภาพการณ์หลายอย่าง เช่น จากการกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน การถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด การใช้สัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ ตลอดจนการกดขี่สตรี พุทธศาสนาจึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น
[แก้ไข] ศาสนาแห่งความรู้และความจริง

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ และธรรมที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 ก็เป็นความจริงอย่างแท้จริง ทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่อว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา
[แก้ไข] ศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ซึ่งต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้า ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
[แก้ไข] ศาสนาอเทวนิยม

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้าดลบันดาลทุกสิ่ง ผู้สร้างทุกสิ่ง แม้กระทั่งโลก เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาไม่เชื่อในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงเรียกว่าศาสนาอเทวนิยม คือ ศาสนาที่ไม่เชื่อในพระเจ้า
[แก้ไข] ศาสนาแห่งสันติภาพ

ในกระบวนการนักคิดของโลกศาสนา พุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ ให้เสรีภาพในการพิจารณาให้มีปัญญากำกับศรัทธา ในขณะที่หลายศาสนาแสดงว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะวิพากษ์วิจารณ์พระเจ้าไม่ได้
[แก้ไข] ประวัติศาสนา
แผนที่แสดงสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน
แผนที่แสดงสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน

พระศาสดาของพระพุทธศาสนาคือพระพุทธเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ แปลว่า ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทรงมีพระปัญญาอันเลิศ สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ว่องไว ทรงมีความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาการหลายสาขา


เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนาง ยโสธราหรือพิมพา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า พระราหุล แม้ชีวิตในฆราวาสวิสัยจะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขสมบัติเพียงใด พระองค์ก็ทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปในทางที่จะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ทั้งมีพระกรุณาประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงทรงสละความสุขนานาประการเสด็จออกผนวช ขณะที่มีพระชนมายุ 29 พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่างๆ จนเชี่ยวชาญ ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วย วิธีการต่างๆ ก็ยังมิได้บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุ ได้ 35 พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนในแคว้นต่างๆ ในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง 45 ปี ประชาชนในสมัยนั้น หันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก


การบำเพ็ญกรณียกิจทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรกที่ทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” ด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศของพระพุทธองค์ ยังผลให้มหาชาชาวโลกได้ผ่องใสพ้นทุกข์เป็นอันมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ 80 พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน


หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธสาวกทั้งหลายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พุทธศักราช 300 พระเจ้าอโศกมหาราชแห่ง เมืองปาฏลีบุตรร่วมกับคณะสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระสงฆ์คณะหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขตประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือแม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชนชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทย ล้วนได้รับการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนา และดำรงมั่นคงคู่ไทยตลอดมา
[แก้ไข] นิกาย

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท หรือ หินยาน และ มหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยคือ การแบ่งเป็น 3 นิกายคือ

* เถรวาท (Theravāda) หรือ หินยาน (Hinayāna-ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก (Tipitaka) แพร่หลายอยุ่ในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และ บางส่วนของประเทศเวียดนามส่วนมากเป็นชาวเขมร บังกลาเทศ และ มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวสยาม
* อาจาริยวาท (Ācāriyavāda) หรือ มหายาน (Mahāyāna-ยานใหญ่) แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย ภูฏาน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และ สิงคโปร์ และบางส่วนของ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวจีน เนปาล บรูไนส่วนมากเป็นชาวจีน ฟิลิปปินส์ส่วนมากเป็นชาวจีน อุซเบกิสถาน และ ทาจิกิสถาน
* วัชรยาน (Vajrayāna) หรือ มหายานพิเศษ ปัจจุบันมีใน อินเดียบริเวณลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีร์ และในรัฐสิกขิม เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และ เขตปกครองตนเองทิเบต

[แก้ไข] สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

วัด ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณร เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้า การทำวัตรเย็น อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย

ประวัติศาสดา(ศาสนาพุทธ)

ประวัติศาสดา พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ้งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงมีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ้งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวหะ เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติได้เสด็จกลับกรุงเทวหะแต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี ซึ้งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ พระนางก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรสข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระราชกุมารได้รับขนานพระนามว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์) ประสูติได้ 7 วันพระราชมารดาก็สวรรคต พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมาตุกา ได้รับเป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารแทน พระราชกุมารสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างเท่าที่จำเป็นสำหัรบพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากพระครูวิศวามิตร เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตตาแห่งเทวหนครทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติแทนจึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นทรงสร้างปราสาท 3 หลัง สำหรับประทับ 3 ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็ทรงมิได้หมกหมุ่นในความสุขเหล่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับทรงคิดไว้ว่า ชีวิตทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นและวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิต เช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนในที่สดพระองค์ก็ได้ตัดสินใจเสด็จออก ผนวชในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีอธิฐานเพศบรรพชิตริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาหลังพระราหุลประสูติได้เล็กน้อย

จาก นั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ศึกษาในสำนักอาฬาลดาบสและอุทกดาบสรามบุตรจนสิ้นความรู้ของอาจารย์จึงทรงลา อาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรที่อุรุเวลวเสนานิคมในช่วงนั้นมีปัญจวัคคีย์มาคอย ปฏิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานพระวรกายในที่สุดทรงกระทำ ทุกรกิริยา ก็ทรงไม่สามารถบรรลุได้ จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพัยรทางจิตจนเกิดพระปัญญาได้ตรัสรู้ความจริงอันสูงสุด เรียกว่า อริยสัจ4 คือ

1.ทุกข์ได้แก่ความทุกข์หรือปัญญาชีวิตทั้งหมด 2. สมุทัยได้แก่สาเหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา

3.นิโรธ ได้แก่ความดับทุกหรือการหมดปัญหา 4.มรรคได้แก่ทางดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา

พระองค์ทรงตัสรู้คาวมจริงอันประเสริฐนี้ในเวลาย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา พระ-องค์จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธหรือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ง ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปแสดงธรรมโปรดปัญจัคคีย์การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียก ว่า ธัมจักรกัปปวัคนสูตร ปัญจัคคีย์ได้ทรงขอผนวชในพระพุทธศาสนาต่อจากนี้ได้มีผู้เลื่อมเข้ามาบวชประ พฟติตามอย่างพระอง์เคลื่อนที่ตามลำดับจนมีพระสงฆ์มากขึ้น และพระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคงในแคว้นมคธ โดยพระบรมราชูปถัมป์ของพระเจ้าพิมพิสาร และในกาลต่อมาทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นโกศลของพระเจ้าปเสนที่โกศล เมื่อประดิษพระพุทธศานาแพร่หลายแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ที่ ป่าสาระ นอกกรุงกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละภาคเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็ทรงปรินิพพาน

วาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 อย่างคือ

1. ตอนเที่ยงทรงแก้ปัญหาเทวดาที่มาทูลถาม

2. ตอนใกล้รุ่งทรงสอดส่องพระญาณหาบุคลผู้มีอุปนิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้

3. ตอนเช้าตรู่ทรงออกบิณฑบาต โดยโปรดสัตว์ตามที่ปรากฏในพระญาณของพระองค์

4. ตอนบ่ายทรงแสดงธรรมแด่ประชาชน

5. ตอนค่ำทรงแสดงธรรมแด่ภิกษุ

นอกจากนี้แล้วยังทรงบำเพ็ญจริยา 3 คือ

1. โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก

2. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพวกญาติ

3. พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า